วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติของผู้สร้าง facebook

ประวัติของผู้สร้าง facebook

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Elliot Zuckerberg) มีเชื้อสาย ยิว - อเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2527 ปัจจุบันอายุ 27 ปี (คนเก่งระดับโลก เช่น ไอน์สไตน์, ฟอน บราวน์ เป็นต้น มักมีเชื้อสายยิว) เติบโตในย่าน Dobbs Ferry นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา เข้าศึกษาระดับมัธยมที่ Ardsley High School และจบมัธยมปลายที่ Phillips Exeter Academy ในปี 2545
สมัยเรียนไฮสคูล ซักเคอร์เบิร์กหัดเป็นโปรแกรมเมอร์ ตั้งแต่อยู่ ชั้น ป.6 เขากับเพื่อนสร้าง โปรแกรมสำหรับเรียนรู้นิสัยการฟังเพลงของผู้ใช้ Winamp และ MP3 และเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทางอินเตอร์เน็ต
ซัคเกอร์เบิร์กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด หยุดเรียนไปกลางคัน และกลับมาลงทะเบียนเรียนอีกครั้งในปี 2549 ที่ฮาร์เวิร์ด ซัคเกอร์เบิร์กเริ่มต้นโครงการวิจัยหรือโปรเจคชิ้นแรกกับเพื่อนร่วมห้อง Arie Hasit ชื่อของโปรเจคนี้คือ Coursematch เป็นบริการที่เปิดให้นักศึกษาสามารถดูรายชื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้

โปรเจคต่อมาคือ Facemash.com เว็บไซต์โหวตรูปนักศึกษาฮาร์เวิร์ดว่าใครได้รับความนิยมชมชอบมากหรือน้อย แต่แล้วเมื่อโปรเจคนี้ให้บริการจริงบนโลกออนไลน์เพียง 4 ชั่วโมง มหาวิทยาลัยก็ลงดาบระงับการใช้อินเทอร์เน็ตของซัคเกอร์เบิร์ก ด้วยข้อหาว่าโปรเจคนี้ของซัคเกอร์เบิร์กละเมิดนโยบายการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ และเป็นภัยต่อระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ซัคเกอร์เบิร์กสร้างบริการ Facebook จากห้องพักตัวเองในมหาวิทยาลัยด้วยฤกษ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 บางแหล่งข่าวระบุว่า ซัคเกอร์เบอร์เขียนโปรแกรมFaceBook ชุดดั้งเดิมในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ คราวนี้ไม่ใช่บริการโหวตรูปหรือบริการแสดงรายชื่อเพื่อนร่วมชั้น แต่เป็นบริการที่ให้นักศึกษาสามารถโพสต์ข้อมูลของตัวเองได้เท่าที่ต้องการ


ประวัติการสร้าง facebook

ประวัติการสร้าง facebook


เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook ซึ่งเป็นเว็บประเภท social network ที่ตอนนั้นเปิดให้เข้าใช้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัย    ฮาร์เวิร์ดเท่านั้น และเว็บนี้ก็ดังขึ้นมาในชั่วพริบตา เพราะแค่เพียงเปิดตัวได้สองสัปดาห์ ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก็สมัครเป็นสมาชิก facebook เพื่อเข้าใช้งานกันอย่างล้นหลาม และเมื่อทราบข่าวนี้ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในเขตบอสตั้นก็เริ่มมีความต้องการ และอยากขอเข้าใช้งาน facebook บ้างเหมือนกัน มาร์คจึงได้ชักชวนเพื่อของเค้าที่ชื่อ Dustin Moskowitz และ Christ Hughes เพื่อช่วยกันสร้าง facebook และเพียงระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนั้น facebook จึงได้เพิ่มรายชื่อและสมาชิกของมหาวิทยาลัยอีก30 กว่าแห่ง
ไอเดียเริ่มแรกในการตั้งชื่อ facebook นั้นมาจากโรงเรียนเก่าในระดับมัธยมปลายของมาร์ค ที่ชื่อฟิลิปส์ เอ็กเซเตอร์ อะคาเดมี่ โดยที่โรงเรียนนี้จะมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book ซึ่งจะส่งต่อๆกันไปให้นักเรียนคนอื่นๆได้รู้จักเพื่อนๆในชั้นเรียน ซึ่ง facebook นี้จริงๆแล้วก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น จนเมื่อวันหนึ่งมาร์คได้เปลี่ยนแปลงและนำมันเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต

เมื่อประสบความสำเร็จขนาดนี้ ทั้งมาร์ค ดัสติน และ ฮิวจ์ ได้ย้ายออกไปที่ Palo Alto ในช่วงฤดูร้อนและไปขอแบ่งเช่าอพาร์ทเมนท์ แห่งหนึ่ง หลังจากนั้นสองสัปดาห์ มาร์คได้เข้าไปคุยกับ ชอน ปาร์คเกอร์ (Sean Parker) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Napster จากนั้นไม่นาน ปาร์คเกอร์ก็ย้ายเข้ามาร่วมทำงานกับมาร์คในอพาร์ตเมนท์ โดยปาร์คเกอร์ได้ช่วยแนะนำให้รู้จักกับนักลงทุนรายแรก ซึ่งก็คือ ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal และผู้บริหารของ The Founders Fund โดยปีเตอร์ได้ลงทุนใน facebook เป็นจำนวนเงิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ
ด้วยจำนวนสมาชิกหลายล้านคน ทำให้บริษัทหลายแห่งสนใจในตัว facebook โดย friendster พยายามที่จะขอซื้อ facebook เป็นเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในกลางปีพ.ศ. 2548 แต่ facebook ปฏิเสธข้อเสนอไป และได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจาก Accel Partners เป็นจำนวนอีก 12.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตอนนั้น facebook มีมูลค่าจากการประเมินอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
facebook ยังเติบโตต่อไป จนถึงเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2549 ก็ได้เปิดในโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย เข้าร่วมใช้งานได้และในเดือนถัดมา facebook ได้เพิ่มฟังค์ชั่นใหม่ โดยสามารถให้สมาชิกเอารูปภาพมาแบ่งปันกันได้ ซึ่งฟังชั่นนี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ในฤถูใบไม้ผลิ facebook  ได้รับเงินจากการลงทุนเพิ่มอีกของ Greylock Partners, Meritech Capitalพร้อมกับนักลงทุนชุดแรกคือ Accel Partners และ ปีเตอร์ ธีล เป็นจำนวนเงินถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการประเมินมูลค่าในตอนนั้นเป็น 525 ล้านเหรียญ หลังจากนั้น facebook ได้เปิดให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใช้งาน facebook และสร้าง network ต่าง ๆ ได้ ซึ่งในที่สุดก็องค์กรธุรกิจกว่า 20,000 แห่งได้เข้ามาใช้งาน และสุดท้ายในปีพ.ศ. 2550 facebook ก็ได้เปิดให้ทุกคนที่มีอีเมล์ ได้เข้าใช้งาน ซึ่งเป็นยุคที่คนทั่วไป ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเข้าไปใช้งาน facebook ได้เพียงแค่คุณมีอีเมล์เท่านั้น

The Social Network

The social network


เรื่องย่อ
หลังจากเลิกรากับแฟนสาวนามว่าเอริก้า มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก นักศึกษาหนุ่มวัย 20 ปีจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็สวมวิญญาณแฮคเกอร์ แฮคเข้าไปในทะเบียนประวัตินักศึกษาเพื่อเอาข้อมูลและรูปนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมาสร้างเป็นหนังสือรุ่นออนไลน์ ในชื่อเว็บไซต์ Facemash และมีการโหวตว่าใครฮอตไม่ฮอตอีกด้วย โดยได้รับความช่วยเหลือจาก เอดัวร์โด้ เซฟริน ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊ค แต่แล้ว 6 เดือนต่อมา เขาก็ถูกมหาวิทยาลัยลงโทษด้วยการระงับใช้อินเทอร์เน็ต เพราะเข้าไปแฮคข้อมูลในระบบทะเบียนมหาวิทยาลัย

         
หลังจากนั้น เขาก็เกิดไอเดียใหม่ เริ่มต้นคิดค้นและพัฒนาเว็บไซต์เฟซบุ๊คขึ้นมา โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ดัสติน มาสโควิตช์ รูมเมทของเขาซึ่งต่อมากลายเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊คอีกคน พวกเขาได้ช่วยกันพัฒนาเฟซบุ๊คเรื่อยมา จนเห็นว่ามันต้องฮอตมาก แน่ มาร์คจึงตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัย ทิ้งใบปริญญาแล้วเดินหน้าพัฒนาเฟซบุ๊คอย่างจริงจัง จนในที่สุดมันก็ทำรายได้มหาศาลให้กับเขา และผลักให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์

         
แต่ความร่ำรวยก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตราบรื่นอย่างที่ใคร คิด เพราะหลังจากที่เขาประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่นี้ เขาก็ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความเป็นส่วนตัวและต้องต่อสู้กับปัญหาความขัดแย้งระหว่างเขา และเอดัวร์โด้ เซฟริน ที่มีปัญหากันเรื่องผลประโยชน์

         
แต่เขาจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร เมื่อเป็นเพียงแค่หนุ่มรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้มีประสบการณ์เรื่องกฎหมายอะไรมากนัก



บทสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์

จากการที่ข้าพเจ้ามีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้ใช้ facebook คนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ใจกลางเมือง วิภาวดี คอนโดมิเนียม และเธอก็ได้มีการใช้ facebook มาเป็นเวลานานแล้ว และมีการใช้บ่อยครั้งแทบทุกวัน จากการตรวจสอบและได้มีการสัมภาษณ์ของ นางสาวภัทรลภา นกจัน อายุ 16 ปี ก็ได้ทราบว่าเหตุผลที่เธอใช้ facebook นั้นก็เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเธอ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่คล้ายคลึงกับวัยรุ่นส่วนใหญ่ มักจะเป็นวัยที่มีการนิยมอะไรบางอย่างตามยุคสมัยนั้นๆ และการใช้ในประจำวันก็เพื่อที่จะโพสบอกเรื่องราวต่างๆของตนเองในแต่ละวัน ทั้งด้านอารมณ์ ความรู้สึกตามสถานการณ์ของชีวิตประจำวันแต่ละวัน สถานะภาพต่างๆ ความชอบส่วนตัว ประวัติส่วนตัว หรือแม้แต่บอกว่าเธอกำลังทำอะไร อยู่ที่ไหนด้วย ทั้งยังชอบอัพโหลดรูปที่ตนเองได้พบและประทับใจในชีวิตประจำวันอยู่บ่อยครั้ง  
ส่วนใหญ่ในห้องเรียนใครที่ไม่เคยเล่น facebook มาก่อนก็ต้องไปสมัครและพยายามที่จะหัดเล่น เพราะว่าเพื่อนๆจะตั้งกลุ่มประจำห้องใน facebook คนที่จะเห็นข้อความต้องเป็นคนในกลุ่มเท่านั้น เพื่อนคนที่เรียนเก่งๆก็จะมาโพสพวกการบ้าน แนวข้อสอบ หรือเตือนการส่งงานอะไรแบบนี้ค่ะ มันทำให้ง่ายต่อการติดต่อด้วย บางทีโทรไปไม่รับ แต่พอแชท facebook ไปตอบทันทีเลย นี่คือคำพูดชองนางสาวภัทรลภา ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าสำหรับเธอนั้น facebook ให้ประโยชน์สำหรับเธอมากมาย ไม่ใช่มีแต่เรื่องไร้สาระ
นอกจากนี้นางสาวภัทรลภา ยังได้ทำการค้าขายผ่านทาง internet โดยใช้สื่อกลางทาง facebook เพื่อขายเครื่องสำอางจากเกาหลี ซึ่งเธอส่งข้อความป้ายโฆษณาตามหน้า profileของบุคคลที่เธอรู้จักหรือบุคคลที่น่าจะสนใจในตัวสินค้าของเธอ ซึ่งก็ได้ผลและเป็นที่นิยมในส่วนหนึ่ง จากผู้ที่ใช้เครื่องสำอางแบรนด์เกาหลีอยู่แล้ว สามารถทำกำไรได้พอสมควร ซึ่งผมคิดว่าไม่เลวเลยที่เด็กวัย 16 ปีนี้ จะสามารถทำธุรกิจผ่านทาง facebook ได้เป็นอย่างดี
และจากประสบการณ์ตรงของตัวผมเองนั้น แน่นอนผมได้มี user name ของ facebook เป็นของตนเองอยู่แล้ว จากการที่ได้เห็นการเล่น facebook ของผู้คนหลายๆ เพศ หลายๆ วัย แล้ว ก็จะเห็นได้ว่าการเล่น facebook ของแต่ละคนนั้นมีจุดประสงค์แตกต่างกันไป มีประโยชน์และโทษแตกต่างกันออกไป เห็นได้ออกบ่อยครั้งที่ผู้คนจะทะเลาะเบาะแว้งในการที่ได้โพสข้อความที่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลแล้วก็มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จึงทำให้เป็นผลเสียอย่างมาก เพราะนอกจากกรณีนี้ ยังมีการโพสข้อความหยาบคาย ด่าทอ และแสดงความไม่พอใจ จาบจ้วงล่วงเกิน และปัญหานี้ก็ยังคงแก้ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่ผู้คนเล่นเพื่อสื่อสาร มีการแสดงความคิดของตนเอง และสามารถแสดงความคิดไปยังผู้อื่นที่เป็นเพื่อนๆ หรือใช้เป็นการสื่อสารองค์กรใดองค์กรหนึ่ง สามารถใช้ประกอบการธุรกิจได้ สามารถโฆษณาสินค้า ตัวตน จนกระทั่งไปถึงความคิดของตนเอง
และจากการสัมภาษณ์ครั้งนี้ผมก็ได้สังเกตเห็นว่า เพื่อนๆของนางสาวภัทรลภา ส่วนใหญ่แล้วมักจะเล่นโทรศัพท์มือถือกัน นอกจากการใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆ ก็ยังมีการใช้ facebook อีกด้วย เพื่อสะดวกรวดเร็วต่อการอัพโหลดรูป โพสสถานะ ข้อความต่างๆ โดยไม่ต้องรอกลับไปทำสิ่งต่างๆเหล่านี้กับคอมพิวเตอร์ที่บ้านของพวกเธอ การใช้งาน facebook ทางโทรศัพท์ สามารถใช้งานได้เกือบเหมือนกับการใช้งาน facebook ทางคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว ต่างกันตรงที่อาจจะใช้เวลานานกว่านิดหน่อย แต่นั่นก็เป็นการเสียเปรียบที่เล็กน้อยและคุ้มค่า ไม่เพียงแต่กลุ่มของพวกเธอเท่านั้น การเล่น facebook ทางโทรศัพท์ยังมีให้เห็นมากมายกับวัยรุ่นและวัยทำงานในปัจจุบันนี้



สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณนางสาวภัทรลภา นกจัน และเพื่อนๆของเธอมากเลยครับสำหรับการให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์เป็นอย่างดี